วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวง ศึกษาธิการ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “DON BOSCO SURAT TECHNOLOGICAL COLLEGE” ใช้อักษรย่อว่า “ว.ด.ส.หรือ D.B.C.” เดิมชื่อโรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโกสุราษฎร์ และได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อในปีการศึกษา 2554 ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่ในบริเวณของโรงเรียนเทพมิตรศึกษา เลขที่ 317 ถนน ตลาดใหม่ อ. เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 6/8 หมู่ 6 ถ.ชนเกษม 41 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 ดำเนินกิจการโดย มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี รับนักเรียนชาย เน้นถึงคุณภาพทางการศึกษา วิชาการ สวัสดิภาพ และจริยธรรม ของนักเรียน 
                  ฯพณฯ เปโตร กาเร็ตโต ประมุขแห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้การศึกษาแก่เยาวชนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีวศึกษา จึงดำริที่จะขยายการศึกษาของโรงเรียนเทพมิตรศึกษา  โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 - 6) สายสามัญ  และการจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาขึ้นในพื้นที่สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี  เพื่อให้ยาวชนได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนอาชีวะเพื่อฝึกอาชีพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปเรียน ในพื้นที่ห่างไกล  โดยเฉพาะผู้เตรียมตัวเป็นนักบวชของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีบางคน และนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนในสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่มีโอกาสได้เรียนสายสามัญ
                  มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ประชุมลงมติให้เริ่มดำเนินการโดย พระคุณเจ้าเปโตร กาเร็ตโต ได้มอบหมายโครงการนี้ให้แก่บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ  ซึ่งเป็นอธิการบ้านและอุปสังฆราช และบาทหลวงกุสตาฟ โรเซนต์ ซึ่งเป็นเหรัญญิกสังฆมณฑล ไปดำเนินการ
                  บาทหลวงกุสต๊าฟ โรเซนส์ ได้ปรึกษาเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกสุราษฎร์ เมื่อได้รับหนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว ในปี พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) ได้เสนอโครงการต่อรัฐบาลเบลเยี่ยม โดยยื่นเอกสารผ่านองค์กรเอกชนซาเลเซียน (NGO) เพื่อขอรับทุนสนับสนุนในรูปของเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ประกอบเป็นสื่อการเรียนการสอนในการเปิดโรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโกสุราษฎร์ รวมเป็นเงินประมาณ 25 ล้านบาท นอกจากนี้ บาทหลวงกุสต๊าฟ โรเซนส์ ยังขอความช่วยเหลือ จากองค์กรอื่น ๆ เช่น MISEREOR , EU และผู้ใจบุญอีกหลายท่าน ในระหว่างนั้น บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญและบาทหลวงกุสต๊าฟ โรเซนส์ ได้จัดการหาที่ดินในบริเวณโรงเรียนเทพมิตรศึกษา และตัดโฉนด 3 ไร่ครึ่ง จากโฉนดของโรงเรียนเทพมิตรศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการขออนุมัติเพื่อใช้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน ในปี พ.ศ.2527 (ค.ศ.1984) ได้ทำการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเสร็จ เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ยาว 70 เมตร กว้าง 9 เมตร มีโรงฝึกงาน ขนาด 12 x 70 เมตร ชั้นล่างของตึก 7 ชั้นเปิดโล่ง เป็นที่สำหรับวางเครื่องจักรกล ในสาขาวิชาช่างกลโรงงาน ประมาณ 30 เครื่อง
                  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนโรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโก สุราษฎร์โดยมีเอกอัครราชทูตประเทศเบลเยี่ยม คือ ฯพณฯ ท่านบารอน แปตริค โนทอมป์ (Baron Patrick Nothomb) มาเป็นประธานในพิธี และมอบโครงการที่สำเร็จแล้วให้แก่มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี บาทหลวงกุสต๊าฟ โรเซนส์เป็นผู้รายงานความเป็นมาของโครงการแก่ท่านเอกอัครราชทูตบารอน แปตริค โนทอมป์ (Baron Patrick Nothomb) พระคุณเจ้าเปโตร กาเร็ตโต เป็นผู้ทำพิธีเสกอาคารเรียน มีผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมกับข้าราชการและแขกผู้มีเกียรติมาร่วมแสดงความยินดี ผู้แทนคณะนักบวชซาเลเซียนและมูลนิธิคาทอลิคสุราษฎร์ธานี ได้ขอบคุณรัฐบาลเบลเยี่ยม ในเมตตาจิตและผลักดันให้โครงการของโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก สุราษฎร์ ได้สำเร็จลุล่วง
                  โรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโกสุราษฎร์ บริหารโดยมูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี โดยมีบาทหลวงศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม เป็นผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการและดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีปรัชญาประจำโรงเรียน “ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำฝีมือ” คติพจน์ประจำโรงเรียน “ ขยัน ศรัทธา ร่าเริง ” แนวทางการอบรมของครูผู้ให้การอบรมว่า “ รัก อารี มีเหตุผล เป็นคนมีศาสนา ” และมีปรัชญาของคณะซาเลเซียน “ มุ่งเสริมสร้างเยาวชนให้สมบูรณ์ตามแนวทางแห่งความจริง ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถและศักยภาพในบรรยากาศแห่งอิสรภาพ ที่รู้จักรับผิดชอบ เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม และเทิดทูนศักดิ์ศรีของมนุษย์ยิ่งขึ้น ” โรงเรียนฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญและการเน้นถึงคุณภาพทางการศึกษา ในด้านวิชาการ สวัสดิภาพและคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีเจตจำนงที่แน่วแน่ที่จะผลิตบุคลากรที่เป็นคนดี มีคุณธรรม มีทักษะ ความรู้ ความสามารถตรงตามสาขาวิชาที่เรียน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติและให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณธรรม  
                  วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์ ได้ดำเนินกิจการ มีการพัฒนาและขยายหลักสูตรโดยเปิดสอนทั้งประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และประเภทวิชาพาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ มาตามลำดับดังนี้
                  ปีการศึกษา 2529 (ค.ศ.1986)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียน ชายจำนวน 29 คน  ครูจำนวน 5 คน  รับนักเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนแผนกช่างอุตสาหกรรม  หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 1   
                  ปีการศึกษา 2530 (ค.ศ.1987)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียนชายจำนวน 58 คน  ครูจำนวน 6 คน  รับนักเรียน หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน  เป็นรุ่นที่ 2
                  ปีการศึกษา 2531 (ค.ศ.1988)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียนชายจำนวน 84 คน  ครูจำนวน 7 คน  เปิดรับสมัครนักเรียน หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน  เป็นรุ่นที่ 3
                  ปีการศึกษา 2532 (ค.ศ.1989)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียนชายจำนวน 81 คน  ครูจำนวน 9 คน  เปิดรับสมัครนักเรียน หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน  เป็นรุ่นที่ 4
                  ปีการศึกษา 2533 (ค.ศ.1990)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ มีครูจำนวน 11  คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 5 และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นรุ่นที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 117  คน
                  ปีการศึกษา 2534 (ค.ศ.1991) บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ผู้จัดการและครูใหญ่มีครูจำนวน 12 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 6 และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นรุ่นที่ 2 มีนักเรียนจำนวน 157 คน
                  ปีการศึกษา 2535 (ค.ศ.1992)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ มีครูจำนวน 14 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 7 และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังเป็นรุ่นที่ 3 มีนักเรียนจำนวน 200  คน
                  ปีการศึกษา 2536 (ค.ศ.1993)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ มีครูจำนวน 17 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 8 และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังเป็นรุ่นที่ 4 มีนักเรียนจำนวน 209  คน
                  ปีการศึกษา 2537 (ค.ศ.1994)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ มีครูจำนวน 20 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 9 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังเป็นรุ่นที่ 5 มีนักเรียนจำนวน 268  คน
                  ปีการศึกษา 2538 (ค.ศ.1995) บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ นายทองเหมาะ สุภาสืบ เป็นครูใหญ่  มีครูจำนวน 24 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 10 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นรุ่นที่ 6  และสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์เป็นรุ่นที่ 1  มีนักเรียนจำนวน 343  คน
                  ปีการศึกษา 2539 (ค.ศ.1996) บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ นายทองเหมาะ สุภาสืบ เป็นครูใหญ่  มีครูจำนวน 29 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 11 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นรุ่นที่ 7  สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์เป็นรุ่นที่ 2 สาขาวิชาบัญชีเป็นรุ่นที่ 1 สาขาวิชาการขายเป็นรุ่นที่ 1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 1 และสาขาวิชาติดตั้งและควบคุม เป็นรุ่นที่ 1  มีนักเรียนจำนวน 567  คน เนื่องจากโรงเรียนเทพมิตรศึกษา ต้องการพื้นที่เพื่อขยายห้องเรียนของแผนกสามัญ มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ดังนั้นโรงเรียนจึงได้หาที่ใหม่ทางใต้ของเมืองสุราษฎร์ถนนเลี่ยงเมืองสี่แยกบางใหญ่ตามเส้นทาง สุราษฎร์ธานี-นาสาร เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนใหม่
                  ปีการศึกษา 2540 (ค.ศ.1997)  บาทหลวงศักดิ์ชัย  ตรีว่าอุดม  เป็นอธิการ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ นายทองเหมาะ สุภาสืบ  เป็นครูใหญ่  มีครูจำนวน 38 คน  เปิดรับสมัครนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน เป็นรุ่นที่ 12 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นรุ่นที่ 8  สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์เป็นรุ่นที่ 3 สาขาวิชาบัญชีเป็นรุ่นที่ 2 สาขาวิชาการขายเป็นรุ่นที่ 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 2 และสาขาวิชาติดตั้งและควบคุม เป็นรุ่นที่ 2  มีนักเรียนชายจำนวน 597 คน หญิงจำนวน 252 คน  และได้ย้ายโรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโกสุราษฎร์จากที่เดิม  เลขที่  317  ถ.หน้าเมือง ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี  มายังเลขที่ 6/8  ม.6 ถ.ชนเกษม 41 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีพื้นที่ 14 ไร่ บริจาคโดยคุณปิ่นทอง ศาลยาชีวิน เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2539 เปิดดำเนินการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และได้มีพิธีเสกและเปิดอาคารเรียน วันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2540 โดย ฯพณฯพระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณฑูตวาติกันประจำประเทศไทยและ ฯพณฯพระสังฆราช มีคาแอล ประพนธ์ ชัยเจริญ

หน้าถัดไป

ปรับปรุงข้อมูล วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557